Shopping Cart
No products in the cart.
View Categories

ริดสีดวงภายนอกหรือระยะ 4 ? เข้าใจให้ชัดก่อนตัดสินใจรักษา

เวลาที่ใช้อ่าน: < 1 min read

          หากเรากำลังเป็นริดสีดวงและมีติ่งอยู่ภายนอกตลอดเวลา หลายท่านรวมไปถึงลูกค้าของเรา มักคิดว่าเป็นริดสีดวงระยะ 4 อย่างแน่นอน ทำให้เกิดความกังวลว่าเป็นริดสีดวงระยะรุนแรงที่สุดโดยที่ไม่ทราบเลยว่าเป็นตอนไหน บทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบให้รู้ว่า แท้จริงแล้วคุณเป็นริดสีดวงระยะ 4 หรือริดสีดวงภายนอก
          แม้ว่าริดสีดวงระยะ 4 กับริดสีดวงภายนอก จะมีติ่งอยู่ข้างนอกตลอดเวลา ความเจ็บปวดระคายเคืองก็เหมือนกัน (ขึ้นกับบุคคลละตำแหน่งการเกิด) แต่เราสามารถแบ่งแยกออกจากกันได้ด้วย “จุดกำเนิด” ซึ่งทั้ง 2 อาการมีลักษณะ อาการ ดังนี้

ริดสีดวงทวารระยะ 4

ริดสีดวงทวารระยะที่ 4 #

  • เป็นระยะที่รุนแรงที่สุดของ ริดสีดวงทวารภายใน ซึ่งเป็นริดสีดวงที่เกิดขึ้นภายในทวารหนัก
  • จุดกำเนิดมาจากภายใน โดยปกติมักจะผ่านระยะ 1-3 มาก่อน
  • ลักษณะเด่น : หัวริดสีดวงโผล่ออกมานอกทวารหนักตลอดเวลา และไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้
  • อาการ :
    • เลือดออกขณะถ่ายอุจจาระหรือแม้ไม่ได้ถ่ายอุจจาระ
    • เจ็บปวดและระคายเคืองในบางกรณี เนื่องจากเส้นเลือดดำขยายตัวและอักเสบ
    • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวริดสีดวงมีลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosed Hemorrhoid) หรือเกิดเนื้อตายจากการขาดเลือด

ริดสีดวงภายนอก #

  • เป็นริดสีดวงที่ เกิดขึ้นบริเวณภายนอกของทวารหนัก มักเกิดจากเส้นเลือดดำบริเวณขอบทวารหนักโป่งพอง
  • จุดกำเนิดที่ภายนอกตั้งแต่เริ่มเป็น
  • ลักษณะเด่น : เป็นก้อนหรือบวมที่ขอบทวารหนัก จึงไม่สามารถดันกลับได้ ซึ่งสามารถมองเห็นและสัมผัสได้
  • อาการ : 
    • เจ็บหรือระคายเคืองโดยเฉพาะขณะนั่ง
    • เจ็บหรือปวดตลอดเวลาเพราะบริเวณนี้มีเส้นประสาทค่อนข้างเยอะ
    • อาจมีเลือดออกจากการเสียดสี
    • ในบางกรณีอาจเกิด ลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้ก้อนริดสีดวงแข็งและปวดมาก (เรียกว่า Thrombosed External Hemorrhoid)
การรักษา ของทั้ง 2 อาการจะมีความใกล้เคียงกันขึ้นอยู่กับความรุนแรง
  • สามารถรับประทานยา หรือใช้ยาทา เพื่อการรักษา
  • จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น Hemorrhoidectomy (การตัดริดสีดวงออก) หรือ Stapled Hemorrhoidopexy (การเย็บรัดริดสีดวง) หากเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน อาจต้องผ่าตัดเอาก้อนเลือดออก (Thrombectomy)
  • บางกรณีอาจใช้ การฉีดยาหรือการทำเลเซอร์ แต่ประสิทธิภาพจะน้อยกว่าการผ่าตัด
  • ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น กินอาหารที่มีกากใยสูง เลี่ยงของแสลง ลดการเบ่งรุนแรง ดื่มน้ำมากๆ และหลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ
  • การเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายและการรับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
* หากมีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

ริดสีดวงระยะที่ 4 (ภายใน) #

ตำแหน่ง : อยู่ภายในทวารหนัก แต่โผล่ออกมาตลอดเวลา

อาการ : เจ็บ เลือดออกง่าย ไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้

การรักษา : รักษาได้ด้วยยา หรือผ่าตัดเฉพาะกรณีรุนแรง

ริดสีดวงภายนอก #

ตำแหน่ง : อยู่ภายนอกบริเวณขอบทวารหนัก

อาการ : เจ็บ และบวมโดยเฉพาะเมื่อนั่ง อาจมีลิ่มเลือดอุดตัน

การรักษา : รักษาได้ด้วยยา หรือผ่าตัดเฉพาะกรณีรุนแรง

อ้างอิง
พญ. สรินดา เลิศบรรณพงษ์, ริดสีดวงทวาร ถ่ายเป็นเลือดจนเสี่ยงภาวะเลือดจาง, https://www.bangkokhospital.com/content/hemorrhoids.
โรงพยาบาลบางปะกอก3, 2565, มารู้จักกับริดสีดวงทวาร, https://www.bangpakok3.com/care_blog/view/164.
โรงพยาบาลนวเวช, ริดสีดวงภายนอก ริดสีดวงภายใน ต่างกันอย่างไร, https://www.navavej.com/articles/19104.
นันทพร ระบิน, ริดสีดวงทวาร รักษาได้ ไม่เจ็บ, https://www.med.cmu.ac.th/web/news-event/news/pr-news/9791/.
โรงพยาบาลเพชรเวช, 2567, ริดสีดวงทวารหนัก โรคที่ควรระวังสำหรับผู้ที่ชอบเข้าห้องน้ำนาน, https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/HEMORRHOIDS.