View Categories

โรคริดสีดวงทวาร และวิธีการรักษาด้วยตัวเอง – ง่ายๆ ได้ผลจริง!

เวลาที่ใช้อ่าน: 1 min read

โรคริดสีดวงทวาร และวิธีการรักษาด้วยตัวเอง - วิธีรักษาด้วยตัวเอง ได้ผลจริง!

โรคริดสีดวงทวาร คืออะไร #

          โรคริดสีดวงทวารหนัก (Hemorrhoids) เป็นภาวะที่เกิดจากการบวมโป่งของหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด (หากเกิดในตำแหน่งที่มีเส้นประสาท) คัน หรือมีเลือดออกขณะขับถ่าย หากทิ้งอาการไว้นานมากขึ้น เนื้อเยื่อบริเวณทวารหนักก็จะบวมตาม ทำให้ติ่งริดสีดวงมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นริดสีดวงระยะรุนแรงได้ หลายคนมักคิดว่าโรคริดสีดวงทวารเป็นเพียงปัญหาสุขภาพที่ไม่ร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างเหมาะสม อาจทำให้ปัญหานี้รุนแรงจนมีผลต่อการใช้ชีวิต หรือมีผลต่อสุขภาพจิตได้

อาการของโรคริดสีดวงทวาร #

          เมื่อเริ่มมีอาการริดสีดวง ทั้งรู้ตัวว่าเป็นหรือไม่รู้ตัวหรือรู้สึกว่าตัวเองน่าจะเสี่ยงเป็นริดสีดวงทวาร มักจะมีอาการทั่วไปที่เรารู้สึกได้ตามนี้

  • อุจจาระแข็ง หรือถ่ายบ่อย มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน มักจะเสี่ยงต่อการเป็นริดสีดวง
  • รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด แม้จะถ่ายออกหมดแล้วก็ตาม
  • มีอาการแสบ หรือรู้สึกว่าบริเวณทวารหนักมีรอยปริ
  • พบเลือดสดออกมาจากทวารหนัก หลังขับถ่ายอุจจาระ
  • มีอาการคันหรือระคายเคืองบริเวณทวารหนัก
  • พบติ่งเนื้อที่บริเวณทวารหนัก อาจจะมาจากในทวารหนัก หรืออยู่นอกทวารหนัก

          โรคริดสีดวงทวารสามารถแบ่งได้ตำแหน่งที่เกิดของติ่งริดสีดวง โดยส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นริดสีดวงทวารภายในและภายนอก ซึ่งอาการของแต่ละประเภทจะแตกต่างกันไป

1. ริดสีดวงทวารภายใน #

  • เลือดออก : โดยปกติจะมีเลือดสดออกในอุจจาระหรือหลังจากการขับถ่าย
  • ปวดน้อยหรือไม่มีอาการเจ็บปวด : ริดสีดวงภายในมักไม่ทำให้เจ็บปวดจนกระทบการใช้ชีวิต แต่จะรู้สึกไม่สบายเมื่อถ่ายอุจจาระ
  • มักพบในคนที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง : ซึ่งมีการเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน
  • มีทั้งหมด 4 ระยะ ขึ้นกับติ่งริดสีดวงว่าเป็นอย่างไร
    • ติ่งเนื้อนูน : ระยะที่ 1 จะเป็นริดสีดวงที่ติ่งอยู่ภายใน ระยะที่ 2-4 จะเป็นริดสีดวงที่ติ่งอยู่ภายในแต่เริ่มขยายจนออกมาภายนอก

2. ริดสีดวงทวารภายนอก #

  • ปวด หรือ ระคายเคือง : ริดสีดวงภายนอกมักจะมีอาการปวด เพราะตำแหน่งที่เกิดจะอยู่ที่เส้นประสาทเป็นส่วนใหญ่ ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บปวดเวลาขับถ่าย หรือเจ็บปวดตลอดเวลา เมื่อขับถ่ายมักจะรู้สึกไม่สบายที่ทวารหนัก ถ่ายไม่สุดเนื่องจากการโป่งพองของหลอดเลือดที่อยู่ภายนอกทวาร
  • เลือดออก : มักจะมีเลือดออกในระหว่างหรือหลังการขับถ่าย
  • ติ่งเนื้อนูน : ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อที่นูนออกมาบริเวณทวารหนัก ซึ่งอาจจะสัมผัสได้จากภายนอก

สาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร #

          โรคริดสีดวงทวารเกิดขึ้นจากการมีแรงกดดันในบริเวณทวารหนัก ซึ่งทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นเกิดการขยายตัวหรือโป่งพอง โดยสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดการกดดันดังกล่าวมีหลายประการ ได้แก่

1.การเบ่งถ่ายอุจจาระแรงมากเกินไป #

          เมื่อเบ่งถ่ายอุจจาระแรงมากเกินไป จากการที่เป็นคนถ่ายยาก หรือตามนิสัย ทำให้หลอดเลือดดำที่ทวารหนักได้รับแรงดันมาก จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการบวมของหลอดเลือด และมีอาการของริดสีดวงได้

2.การท้องผูกเรื้อรัง หรือ ท้องเสีย #

          การท้องผูกเรื้อรังทำให้ผู้ป่วยต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ ซึ่งเพิ่มแรงดันให้กับหลอดเลือดดำที่ทวารหนัก ในขณะเดียวกันการท้องเสียก็อาจส่งผลให้การขับถ่ายบ่อยจนทำให้เกิดการระคายเคือง หรือบีบหดของหลอดเลือดในทวารหนัก เกิดเป็นริดสีดวงได้

3.การตั้งครรภ์ #

          ในระหว่างการตั้งครรภ์ มดลูกที่ขยายตัวจะไปกดทับเส้นเลือดและเกิดแรงดันในท้องและทวารหนัก ส่งผลให้เลือดไหลเวียนในบริเวณนั้นไม่สะดวก หรือเกิดแรงดัน ทำให้หลอดเลือดดำโป่งพองและมีอาการของริดสีดวงได้

4.การนั่ง หรือ ยืนนานเกินไป #

         ผู้ที่มีการนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือยืนนานๆ จะมีการกดทับหลอดเลือดที่ทวารหนัก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคริดสีดวงทวารได้เช่นกัน

5.อายุ #

         เมื่ออายุมากขึ้น ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดและเนื้อเยื่อรอบๆ ทวารหนักจะลดลง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวารเพิ่มขึ้น

6.พฤติกรรมการทานอาหาร #

          การทานอาหารที่มีเส้นใยต่ำ เช่น อาหารแปรรูป หรือการดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้การขับถ่ายลำบากขึ้น ส่งผลให้เกิดท้องผูกและการเบ่งถ่ายรุนแรงมากขึ้น หรือการทานอาหารที่เป็นของแสลง เช่น ของดิบ ของดอง ของทาน และอื่นๆ ก็จะส่งผลต่อการขับถ่าย ของเสียสะสมเยอะขึ้น และทำให้หลอดเลือดดำที่ทวารหนักอ่อนแอลง จนมีอาการของริดสีดวงได้

7. พฤติกรรมการเข้าห้องน้ำ #

          หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญกับการใช้เวลาในการถ่ายหนัก บางคนใช้เร็วเกินไปจนต้องรีบเบ่งอุจจาระแรงๆ หรือบางคนใช้เวลานานเกินไป เพราะเล่นมือถือ อ่านหนังสือ เป็นต้น ที่กล่าวมาเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นริดสีดวงได้ และยิ่งเป็นการถ่ายหนักโดยใช้เวลาเยอะ ทำให้เลือดในร่างกายไหลเวียนไปที่ทวารหนักได้มากขึ้น นั่นทำให้หลอดเลือดบริเวณนี้เกิดการโป่งพอง บวม และเกิดการอักเสบได้ ดังนั้นควรใช้เวลาให้เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดริดสีดวง

8. การออกกำลังกาย #

          การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่ความหนักเบา หรือวิธีการออกกำลังกายก็มีผลต่อริดสีดวงเช่นกัน เช่น การยกน้ำหนักที่เยอะในท่ายืน การวิ่งที่ใช้ระยะทางเยอะหรือมากเกินไป หรือการกระโดดของกีฬาบางประเภท ซึ่งทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องและการกระแทก เกิดการอักเสบบวมของหลอดเลือดดำที่ทวารหนักเป็นริดสีดวงได้ ดังนั้นหากต้องการออกกำลังกายในช่วงที่เป็นริดสีดวงก็ควรออกแต่พอดี

9. เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก #

          การมีเพศสัมพันธ์วิธีนี้ เกิดการเสียดสีที่บริเวณหลอดเลือดและเนื้อเยื่อบริเวณทวารหนัก นั่นทำให้เกิดการอักเสบ บวม และเป็นริดสีดวงได้นั่นเอง หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีนี้แนะนำเพิ่มการหล่อลื่น ชุ่มชื้น ให้กับรูทวารก็จะลดการเสียดสีได้ระดับหนึ่ง

10. พันธุกรรม #

          เนื่องจากริดสีดวงเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ดังนั้นความแข็งแรงของหลอดเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ลักษณะทางพันธุกรรมจึงมีผลต่อความแข็งแรงของหลอดเลือด ฉะนั้นบางคนดูแลสุขภาพเป็นอย่างดีแต่มีความแข็งแรงหรือยืดหยุ่นของหลอดเลือดที่ไม่ดี ก็สามารถเป็นริดสีดวงได้เช่นกัน

วิธีการรักษาริดสีดวงทวารด้วยตัวเอง #

          หากคุณกำลังคิดว่าตัวเองเป็นริดสีดวงไม่ว่าระยะใดก็ตาม สามารถทำตามนี้ เพื่อรักษาริดสีดวงทวารและลดความรุนแรงของโรคได้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม #

          พยายามลดพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรคริดสีดวง ไม่ว่าจะเป็น การเบ่งถ่ายอุจจาระแรงมากเกินไป พฤติกรรมการเข้าห้องน้ำที่นานเกินไปหรือเร่งเร็วจนเกินไป การนั่งหรือยืนในท่าเดิมนานเกินไป การออกกำลังกายหรือยกของหนักมากเกินไป หรือเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ยิ่งเราปรับตัวเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งลดอาการและความเสี่ยงของโรคได้มากเท่านั้น

พฤติกรรมการทานอาหาร #

          อาหารที่เราทานมีผลต่อระบบขับถ่ายเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากตอนที่เรา ไม่ทานผัก ทานพริกเยอะเกินไป กินของทอดของมันมากเกินไป ทั้งหมดส่งผลต่อคุณภาพการขับถ่าย ดังนั้นเพื่อเพิ่มคุณภาพการขับถ่ายเราควรที่จะ เพิ่มการทานน้ำ (อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว) ผัก ผลไม้ ที่มีเส้นใยอาหารสูง (ไฟเบอร์) และเลี่ยงของแสลง เช่น หน่อไม้ ของดิบ พริก ของหมักดอง ของทอด ของมัน เป็นต้น

"ผัก ผลไม้ ที่ทางการแพทย์แผนจีนแนะนำให้หลีกเลี่ยงเพิ่ม คือ ผลไม้ฤทธิ์ร้อน (พวกที่มีปริมาณน้ำตาลสูง) เช่น ทุเรียน ลำไย ละมุด เป็นต้น รวมไปถึงผักที่มีกลิ่นแรง กลิ่นฉุน เช่น ชะอม สะตอ กระถิน เป็นต้น เพราะของฤทธิ์ร้อนเหล่านี้ จะกระตุ้นการอักเสบ ทำให้อาการริดสีดวงทวารแย่ลง"

การดูแลเฉพาะจุด #

          การดูแลบริเวณทวารหนักก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อลดอาการของริดสีดวง และสิ่งที่สามารถทำได้ง่ายๆ ที่บ้านก็คือ การแช่น้ำอุ่น (Sitz bath) ก็จะเป็นการขยายหลอดเลือดให้เลือดไหลเวียนได้ดี และช่วยลดอาการปวด คัน ได้ระดับหนึ่ง หรือจะเป็นการทานยา ทายา เพื่อลดการอักเสบของริดสีดวงด้วย ก็ได้ เช่นกัน

การออกกำลังกาย #

          การออกกำลังกายแต่พอดีไม่มากจนเกินไป จะเป็นตัวช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น ช่วยในการขับถ่าย รวมไปถึงเพิ่มความแข็งแรงให้กับหลอดเลือดบริเวณทวารหนักด้วย ดังนั้นการออกกำลังกายเบาๆนทุกวัน จะเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ดี

การใช้ยา #

ยาสมุนไพรรักษาริดสีดวง ตราปลามังกร ชนิดลูกกลอน
ยาสมุนไพรรักษาริดสีดวง ตราปลามังกร ชนิดแคปซูล

          การใช้ยาเพื่อลดอาการปวดเป็นตัวเลือกที่ดี เพียงแต่การลดปวดเป็นเพียงแค่การดูแลอาการที่ปลายเหตุเท่านั้น ควรทานยาที่ช่วยลดอาการอักเสบของหลอดเลือดหรือริดสีดวงจะตรงจุดมากกว่า และควรเลือกยาที่ “รักษาแบบองค์รวม” เพื่อนอกจากที่จะช่วยลดการอักเสบแล้ว ก็ยังช่วยที่ต้นเหตุเรื่องระบบทางเดินอาหารและการขับถ่ายด้วย การแพทย์แผนจีนที่มีตำรามายาวนานจึงได้เปรียบยาแผนปัจจุบันในจุดนี้

          หากการรักษา/ดูแลริดสีดวงด้วยตัวเอง ไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้น ติ่งริดสีดวงอักเสบมากขึ้น ปวดมากจนมีผลต่อการใช้ชีวิต เลือดออกเยอะมาก ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ก็ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษา ซึ่งอาจจะมีการรัดยาง การฉีดยา หรือการผ่าตัด ขึ้นกับการวินิจฉัยและแนะนำของแพทย์

หากสงสัยว่าตัวเอง มีอาการริดสีดวงอยู่หรือไม่ หรือกำลังจะเริ่มเป็น สามารถสอบถามเพิ่มเติม คอมเมนต์หรือแชร์บทความนี้เพื่อช่วยเหลือคนที่อาจมีปัญหาเดียวกัน ได้ที่ช่องทาง ตามนี้