ริดสีดวงทวาร เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดบริเวณทวารหนัก โดยปกติแล้วบริเวณเยื่อบุทวารหนักจะมีเส้นเลือดเเละหลอดเลือดขนาดเล็กอยู่ เมื่อเลือดคั่ง จะเกิดการโป่งพองขึ้น ทำให้เกิดเป็น “หัวริดสีดวง” ขึ้น ซึ่งสามารถเกิดได้พร้อมกันหลายตำเเหน่ง
เชื่อว่ามีสาเหตุหลายอย่างที่ก่อให้เกิดริดสีดวง เช่น ภาวะท้องผูกเรื้อรัง การนั่งขับถ่ายนานๆ การยกของหนัก หรือ แม้กระทั่งอาหารที่รับประทาน ผู้ป่วยมักจะมีอาการคัน เเสบ เจ็บ บริเวณรูทวาร และ อาการที่เด่นชัดเลย คือการคลำพบติ่ง หรือ ก้อน บริเวณรูทวาร เเละมีการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย
โดยทั่วไปริดสีดวงสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการปรับพฤติกรรมไม่ว่าจะเป็นการกินหรือการใช้ชีวิต ประกอบกับการทานยารักษาตามอาการต่างๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับระยะเเละอาการที่เป็นอยู่ หากรู้เร็วก็สามารถรักษาให้หายได้เร็วลองมาเช็กอาการที่เป็นอยู่กันสักหน่อยว่า อาการที่เป็นอยู่นั้นเป็นริดสีดวงระยะไหนกันเเน่
อาการเสี่ยงริดสีดวง #
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์
- อุจจาระแข็งกว่าปกติ
- เวลาขับถ่ายต้องออกเเรงเบ่งมากกว่าปกติ
- มีเลือดสดหยดออกมา อุจจาระมีมูกเลือดปน หรือ อุจจาระเป็นเป็นเลือด
- มีอาการคัน แสบ หรือ เจ็บ บริเวณรูทวาร
- คลำเจอก้อน หรือ ติ่ง บริเวณทวารหนัก
- ก้อน หรือ ติ่ง บริเวณทวารหนักยื่นออกมาจากรูทวาร
- ก้อน หรือ ติ่ง สามารถหดกลับไปในขอบรูทวารได้หลังขับถ่ายเสร็จ
- ก้อน หรือ ติ่ง ไม่สามารถหดกลับเข้าไปในขอบรูทวารได้
- หลังขับถ่ายเสร็จต้องอาศัยมือดัน ก้อน หรือ ติ่ง กลับเข้าไป
- หัว หรือ ติ่ง ยื่นออกมาด้านนอกขอบรูทวาร ไม่สามารถดันกลับไปได้
- มีอาการปวดบริเวณรูทวารร่วมด้วย โดยะเฉพาะตอนนั่ง
ระยะริดสีดวง #
ข้อ 1-3 : เป็นเพียงเเค่อาการท้องผูก แต่ให้พึ่งระวังไว้หากเป็นนานก็อาจะเป็นริดสีดวงได้
ข้อ 4-6 : คุณเริ่มมีอาการริดสีดวง เเต่เป็นเพียงเเค่เริ่มต้นในระยะ 1
ข้อ 4-8 : อาการของริดสีดวงในระยะที่ 2
ข้อ 4-10 : อาการของริดสีดวงในระยะที่ 3
ข้อ 4-12 : อาการของริดสีดวงในระยะที่ 4
ริดสีดวงระยะไหนควรไปหาหมอ #
- อุจจาระเป็นเลือด และ มีอาการเป็นอย่างนี้ต่อเนื่อง
- ระยะที่ 3-4 หัวริดสีดวงอาจเกิดการอักเสบแม้จะดันกลับเข้าไปได้ หรือในกรณีดันกลับเข้าไปภายในทวารหนักไม่ได้ และจะค้างอยู่ที่ปากทวารหนัก ถึงแม้จะใช้นิ้วช่วยดันแล้วก็ตาม ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดมากและต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน ก่อนที่หัวริดสีดวงจะเน่าตายจากการขาดเลือด สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัด
อ้างอิง: โรงพยาบาลเวชธานี