ยารักษาโรคริดสีดวงทวาร

ยารักษาริดสีดวงมีทั้งแบบแผนปัจจุบัน และ แบบแผนโบราณ

โดยทั่วไปในแพทย์แผนปัจจุบันจะมีการใช้กลุ่มของสเตอรอยด์ในกลุ่มของ corticosteroids แม้ว่าจะลดอาการอักเสบได้อย่างรวดเร็วแต่เป็นที่รู้กันดีว่าการใช้สารกลุ่มสเตอรอยด์นั้นมีผลข้างเคียงสูง ซึ่งในกรณีนี้ทำให้ผิวบริเวณนั้นถูกทำลายอย่างถาวร นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาเหน็บและยาทาทวารหนัก ซึ่งประกอบไปด้วย ยาชา (บรรเทาอาการปวด) ยาลดการอักเสบ ยาหดตัวของหลอดเลือด และยาปฏิชีวนะ หรือในวิถีชาวบ้านจะมีการแช่ในน้ำสมุนไพรโดยอาศัยการแช่ริดสีดวงจนเปื่อยและหลุด ซึ่งมีข้อเสีย คือ น้ำต้มสมุนไพรที่นำมาใช้อาจไม่สะอาด มีเชื้อโรค ทำให้มีโอกาสติดเชื้อบริเวณบาดแผล และในบางกรณีทำให้เลือดไหลไม่หยุด ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาแผนปัจจุบันและการใช้พืชสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐาน

ยาริดสีดวง ตราปลามังกรเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการรักษา ด้วยกระบวนการผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐาน และตำรับสมุนไพรจากสมุนไพรหลากหลายชนิดที่ใช้รักษาทั้งระบบตั้งแต่การขับลม การย่อยอาหาร การดูดซับของเสีย การเพิ่มความยืดหยุ่นหลอดเลือด ลดการอักเสบรวมไปถึงการระบาย ซึ่งไม่เหมือนการรักษาที่ปลายเหตุเพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่าง

โกฐน้ำเต้า มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านการอักเสบหลายชนิด สารช่วยระบาย ช่วยขับไขมันออกจากร่างกาย สารต้านเชื้อแบคทีเรีย และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด เช่น quercetin, sennoside, anthraquinone, nitric oxide เป็นต้น

จี่ซิก ทำให้ขับถ่ายสะดวก มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านการอักเสบ

ห่วยฮวย ช่วยขับไขมันออกจากร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านการอักเสบหลายชนิด

เนื่องจากเป็นยาสมุนไพรที่มีความปลอดภัยและผลิตได้มาตรฐานจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อีกทั้งเป็นพืชสมุนไพรทั้งหมดผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยระบายและขับถ่ายของเสียรวมไปถึงไขมันสะสมได้

ขอขอบคุณเนื้อหาส่วนหนึ่งและเอกสารอ้างอิงจาก

ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอ. 2007. หมอชาวบ้าน. 337.

Kann, B.R., and Whitlow, C.B. 2004. Hemorrhoids: diagnosis and management. Techniques in Gastrointestinal Endoscopy 6 (1): 6-11.

Moore, R.A. 2000. Hemorrhoid review. Current Surgery 57 (2): 103-106.

Odukoya, O.A. et al. 2009. Hemorrhoid therapy with medicinal plants: astringency and inhibition of lipid peroxidation as key factors. International Journal of Biological Chemistry 3: 111-118.

Willcox, J.K., Ash, S.L., and Catignani, G.L. 2004. Antioxidants and prevention of chronic disease. Critical Reviews in Food Science and Nutrition 44 (4): 275-295.