การรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก

การรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก

การรักษาโรคริดสีดวงขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค หากเป็นริดสีดวงอยู่ในระยะเริ่มแรกหรือระยะที่ 2 ยังพอรักษาริดสีดวงด้วยตัวเองโดยการใช้ยาหรือสมุนไพรได้อยู่ โดยอาจจะใช้ยาเหน็บหรือยาบรรเทาอาการอักเสบ นอกจากนี้ อาจมียาหดตัวของหลอดเลือด ยาฝาดสมาน ยาช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดดำ ยาระบาย มาใช้ในการบรรเทาอาการของริดสีดวงทวาร ทว่าสำหรับริดสีดวงระยะที่ 3 และ 4 อาจต้องรักษาอาการริดสีดวงด้วยฝีมือของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการรักษาริดสีดวงสามารถทำได้ดังนี้

การรักษาริดสีดวง ด้วยตนเอง

  • แช่น้ำอุ่น นำน้ำอุ่นใส่กะละมังขนาดที่สามารถนั่งได้ จากนั้นนำด่าทับทิมผสมกับน้ำที่เตรียมไว้ให้สีออกชมพูจางๆ จากนั้นนั่งเอาก้นแช่น้ำประมาน 15-30 นาที เพื่อลดอาการอักเสพของริดสีดวง
  • ยาเหน็บ ก่อนจะใช้ยาประเภทนี้ ควรทำการขับถ่ายให้เรียบร้อยก่อนทุกครั้งและทำความสะอาดมือเพราะอาจจะทำให้แผลจของริดสีดวงติดเชื้อได้ และการเหน็บยาควรเหน็บให้มีความถึงอย่างน้อย 1 นิ้ว หนีบแก้มก้นไว้ในท่านอนตะแคงต่อประมาณ 15 นาที อย่ารีบลุกเดินทันทีเพราะตัวยาเหน็บอาจหลุดออกมาได้
  • ยารับประทาน มีทั้งแบบแผนปัจจุบันและแบบสมุนไพร ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเลือกรับประทานแบบใด
  • อาหาร เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยเพื่อลดการเสียดสีบริเวรทวารและหนักดื่มน้ำมากๆ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ กาแฟ ชา น้ำอัดลม เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ อุจจาระแข็ง และถ่ายลำบากขึ้น

การรักษาริดสีดวงโดยแพทย์

  • การรักษาโดยการฉีดยา โดยฉีดยาเข้าไปในตำแหน่งริดสีดวงทวารที่เลือดออก เพื่อให้เลือดจับลิ่มในหัวริดสีดวง จากนั้นจะเกิดเนื้อพังผืดมาแทนที่หัวริดสีดวง ต่อมาเนื้อพังผืดก็จะหดตัวตามธรรมชาติ แล้วหัวริดสีดวงก็ฝ่อไปเอง
  • การรักษาโดยการใช้ยางรัด ยิงยางรัดโคนหรือหัวของริดสีดวงที่โผล่ออกมาด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อให้ริดสีดวงขาดเลือดและฝ่อ จากนั้นริดสีดวงก็จะหลุดออกไปเอง
  • การผ่าตัด การผ่าติดมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับ ระยะของโรค จำนวน และขนาดของริดสีดวง ถ้าริดสีดวงทวาร 3 ตำแหน่งขึ้นไป อาจใช้เครื่องมือตัดต่อเยื่อบุลำไส้ชนิดกลม โดยการตัดและเย็บนี้จะเกิดตามแนวเส้นรอบวงของช่องทวารหนัก ทำให้สามารถตัดหัวริดสีดวงออกได้ทุกหัว และไม่ทำให้รูทวารหนักแคบลง อีกทั้งแนวการเย็บแผลอยู่สูงกว่าปากทวารหนัก ผู้ป่วยจะไม่แผลภายนอกเลย รวมถึงอาการเจ็บปวดก้นหลังผ่าตัดก็จะลดน้อยลง

แนะนำให้การดูแลรักษาปฏิบัติตนเองควบคู่กับการใช้ยา แต่ถ้าความรุนแรงของโรคเข้าสู่ระยะที่ 3 (ร่วมกับมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่) หรือเป็นระยะที่ 4 หรือรายที่เป็นรุนแรง เช่น มีเลือดไหลอยู่ตลอดเวลา ก็ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป