อาการท้องผูกคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อการขับถ่ายไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งทำให้เกิดความยากลำบากในการขับถ่ายอุจจาระ ส่งผลให้มีอุจจาระแข็งหรือต้องออกแรงเบ่งมากในการถ่ายท้อง ความยากลำบากในการขับถ่ายนี้สามารถส่งผลให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ริดสีดวงทวาร” ซึ่งเป็นภาวะที่หลอดเลือดดำในทวารหนักเกิดการบวมและอักเสบ สร้างความเจ็บปวด รำคาญและไม่สบายตัว

5 สาเหตุของอาการท้องผูกคืออะไร
- พฤติกรรมการกินอาหาร : การกินอาหารที่ขาดไฟเบอร์ เช่น อาหารจานด่วน อาหารที่มีไขมันสูง และการรับประทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีและทำให้อุจจาระแข็งตัว
- การขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย : การขาดกิจกรรมทางกาย เช่น การไม่ออกกำลังกายหรือการนั่งอยู่ในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน ทำให้การทำงานของลำไส้ช้าลง ซึ่งมีผลต่อการขับถ่ายเช่นเดียวกัน
- การดื่มน้ำน้อย : การดื่มน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ อุจจาระจึงแห้งแข็ง และขับถ่ายยาก
- ความเครียด : การเครียดจากสภาพแวดล้อมการทำงานหรือปัญหาทางจิตใจสามารถส่งผลต่อการทำงานและการเคลื่อนตัวของลำไส้ มีผลต่อการขับถ่ายเช่นเดียวกัน
- การใช้ยาบางชนิด : ยาบางประเภท ที่ใช้และทานอยู่ไม่ว่าจะยาประจำตัว ยาช่วยในการบรรเทาอาการปวด หรือยาอื่นๆบางชนิด จะมีผลต่อการขับถ่ายและทำให้เกิดโรคท้องผูกได้

วิธีป้องกันอาการท้องผูกคืออะไร
- การเพิ่มปริมาณไฟเบอร์ในอาหาร : ควรกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผักสด ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด ซึ่งจะช่วยให้อุจจาระนุ่มและขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
- การดื่มน้ำให้เพียงพอ : ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยการดื่มน้ำมากๆ ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้นและป้องกันอุจจาระแห้งแข็ง
- การออกกำลังกาย : การออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง หรือโยคะ จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้และป้องกันอาการโรคท้องผูก
- การไม่เบ่งอุจจาระมากเกินไป : หากรู้สึกอยากขับถ่าย ควรรีบไปห้องน้ำ ไม่ควรรอจนเกินไป เพราะการเบ่งมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
- การควบคุมความเครียด : ควรหาเวลาผ่อนคลายจากความเครียด เช่น การทำสมาธิ การนั่งฟังเพลงเบาๆ หรือการเดินเล่นในธรรมชาติ และพักผ่อนให้เพียงพอ
อาการท้องผูกคือสิ่งที่ทำให้เกิดเกิดการสะสมของเสียในร่างกาย ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคริดสีดวงทวาร หรือมะเร็งลำไส้ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก การป้องกัน รักษาอาการโรคท้องผูกและโรคริดสีดวงทวาร ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องของการกินอาหาร การออกกำลังกาย การขับถ่าย และการดูแลสุขภาพจิต เพื่อให้การทำงานของลำไส้และการขับถ่ายกลับมาเป็นปกติ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการเหล่านี้ ทั้งนี้แม้โรคริดสีดวงทวารหนักที่เป็นอยู่จะหายแล้ว แต่โรคนี้ก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้เสมอเพราะมันคือ หลอดเลือดที่เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของเรา ดังนั้นใครที่เป็นบ่อยอาจต้องดูแลด้วยวิธีเหล่านี้มากกว่าคนอื่น
5 คำถามที่พบบ่อย
1. กินอะไรถึงจะถ่ายทุกวัน?
กินผักผลไม้ที่มีกากใยสูง เช่น มะละกอ กล้วย แอปเปิ้ล ถั่ว ธัญพืช ดื่มน้ำเยอะๆ และออกกำลังกาย
2. ทำไมอึเป็นเม็ดๆ?
เพราะขาดน้ำหรือไฟเบอร์ แก้ได้โดยดื่มน้ำมากขึ้น กินผักผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
3. ไม่ถ่ายกี่วันถือว่าท้องผูก?
ปกติควรถ่ายทุกวันหรือวันเว้นวัน ถ้าเกิน 3 วันและอุจจาระแข็ง ถือว่าท้องผูก
4. ทำยังไงให้ขับถ่ายเป็นปกติ?
กินไฟเบอร์เยอะๆ ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกาย และฝึกขับถ่ายเป็นเวลา
5. ทำไมกินโยเกิร์ตแล้วท้องผูก?
อาจแพ้นมวัว หรือกินโยเกิร์ตที่มีน้ำตาลสูง ควรเลือกสูตรไม่มีน้ำตาลและกินร่วมกับไฟเบอร์